Explosion proof
หมายถึง อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ประกายไฟ ความร้อน หรือพลังงานอื่นๆ จากภายในอุปกรณ์ ลอดออกมาสู่ภายนอก ซึ่งอาจทำให้เกิดประกายไฟและจุดชนวนการระเบิดของก๊าซ ไอระเหย หรือฝุ่นละอองที่อยู่รอบๆ ได้
หลักการทำงาน
อุปกรณ์ explosion proof ทำงานโดยใช้หลักการต่างๆ ดังนี้:- การปิดผนึก : อุปกรณ์จะถูกปิดผนึกอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ประกายไฟ ความร้อน หรือพลังงานอื่นๆ จากภายในอุปกรณ์ ลอดออกมาสู่ภายนอก
- การระบายความร้อน : อุปกรณ์จะมีระบบระบายความร้อนที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนสะสมภายในอุปกรณ์จนเกิดประกายไฟ
- การใช้แรงดัน : อุปกรณ์บางชนิดจะใช้แรงดันภายในที่สูงกว่าแรงดันภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซหรือไอระเหยจากภายนอกไหลเข้าสู่ภายในอุปกรณ์
- การใช้การป้องกันพิเศษ : อุปกรณ์จะมีการป้องกันด้วยเคสที่แข็งแรง ทนทาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟจากแรงกระแทก
ในบางอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดระเบิด สารเคมี หรือฝุ่นละออง คอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในสถานที่เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ Rugged ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมที่อันตรายเหล่านี้
เครื่องหมาย ANSI และ ATEX:
ATEX:
Atmosphères Explosibles เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดในยุโรป มาตรฐาน ATEX แบ่งออกเป็น 3 ประเภท:
Zone 0: พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดสูง
Zone 1: พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดปานกลาง
Zone 2: พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดต่ำ
อุปกรณ์ที่ผ่านมาตรฐาน ATEX จะมีเครื่องหมาย "εx"
ANSI:
American National Standards Institute เป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสำหรับความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆ ในอเมริกา มาตรฐาน ANSI สำหรับคอมพิวเตอร์ Explosion Proof คือ C1D2 : อุปกรณ์ที่ผ่านมาตรฐาน ANSI/ISA 12.12.01 จะมีเครื่องหมาย "CE" และ "Ex"
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนด
ATEX Certificated
ATEX เป็นการเล่นคำย่อจากชื่อเต็มว่า “ATmosphere EXplosive” ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติของสหภาพยุโรป ซึ่งใช้สำหรับรับรองและควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ในบรรยากาศที่สามารถเกิดการระเบิดได้ โดยใช้รับรองอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอันตราย ใบรับรอง ATEX มอบให้แก่อุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดตามแนวทางของสหภาพยุโรป ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามมาตรฐาน ATEX ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยในการใช้งานในสภาพแวดล้อมเฉพาะที่มีบรรยากาศที่ระเบิดได้ ตามโซน ที่ได้มีการรับการรับรองให้ใช้ได้
สภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ (Explosive Atmosphere)
ตามกฎข้อบังคับ DSEAR (Dangerous Substances and Explosive Atmospheres Regulations, กำหนดโดย สหราชอาณาจักร ภายใต้มาตรฐานการดำเนินงานของสหภาพยุโรป) ได้นิยามไว้ว่า สภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ คือ ส่วนผสมของสสารอันตรายต่างๆ ที่สามารถลุกไหม้ (สสารไวไฟ) ได้ในสภาวะก๊าซ สารระเหย หรือ ฝุ่นละอองภายใต้สภาพบรรยากาศทั่วไป ซึ่งสามารถลุกลามไปเป็นบริเวณกว้างหลังจากเกิดการเผาไหม้ครั้งแรกจนครอบคลุมสสารที่ยังไม่เกิดการเผาไหม้ได้ทั้งหมด
ประกอบด้วย อากาศ , แหล่งที่ให้กำเนิดไฟ , หรืออื่น ๆ เช่น ก๊าซไวไฟ , หมอกหรือไอ, ฝุ่นที่ติดไฟได้เป็นต้น
การแบ่ง ZONE การใช้งานสำหรับการรับรองเครื่องหมาย ATEX
ในสภาพการทำงานที่แตกต่างกันเช่น หมือง โรงงาน แท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ โรงโม่แป้งและไม้ จะมีเขตที่มีบรรยากาศที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดได้ในสภาพแวดล้อม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะมีการจัดแบ่งโซน เพื่อสามารถกำหนดค่าของอุปกรณ์ที่นำไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
• ก๊าซ และ สารระเหย (G)
ZONE 0
สถานที่ที่มีบรรยากาศที่ประกอบด้วยอากาศที่มีสารติดไฟที่อยู่ในรูปแบบของก๊าซ ไอระเหย หรือหมอกอยู่อย่างเป็นประจำหรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (>1000ชม./ปี) จะต้องใช้อุปกรณ์แบบ Category 1
ZONE 1
สถานที่มีโอกาสในการเกิดบรรยากาศที่ประกอบดว้ยอากาศที่มีสารติดไฟที่อยู่ในรูปแบบของก๊าซ ไอระเหย หรือหมอก ในการทำ งานตามปกติ เป็นบางครั้ง (>10 ชั่วโมง แต่น้อยกว่า <1000 ชม./ปี) จะต้องใช้อุปกรณ์แบบ Category 2 หรือ 1
ZONE 2
สถานที่ที่มีโอกาสในการเกิดบรรยากาศที่ประกอบด้วยอากาศที่มีสารติดไฟที่อยู่ในรูปแบบก๊าซ ไอระเหย หรือหมอกในการทำงานได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นจะยังไม่ติดไฟได้ในระยะเวลาหนึ่ง (สภาวะที่เกิดขึ้นน้อยกว่า 10 ชม./ปี) จะต้องใช้อุปกรณ์แบบ category 3,2, หรือ 1
• ฝุ่น (D)
ZONE 20
สถานที่ที่มีโอกาสในการเกิดบรรยากาศที่ประกอบด้วยอากาศที่มีสารติดไฟที่อยู่ในรูปแบบกลุ่มมฝุ่นอยู่บ่อยครั้ง และ ต่อเนื่อง หรือเป็นระยะเวลานาน หรือค่อนข้างบ่อย (<1000 ชม./ปี) จะต้องใช้อุปกรณ์แบบ Category 1
ZONE 21
สถานที่ที่มีโอกาสในการเกิดบรรยากาศที่ประกอบด้วยอาากาศที่มีสารติดไฟที่อยู่ในรูปแบบกลุ่มฝุ่นได้น้อยภายในการทำงานปกติ แต่หากเกิดขึ้นจะยังไม่ติดไฟได้ในระยะเวลาหนึ่ง (สภาวะนี้เกิดขึ้นมากกว่า 10 ชม./ปี แต่น้อยกว่า <1000 ชม./ปี) ต้องใช้อุปกรณ์แบบ Category 2 หรือ 1
ZONE 22
พื้นที่ที่อาจมีกลุ่มฝุ่นที่สามารถติดไฟปะปนบ้างในระยะเวลาสั้น ๆ หรือ ในระหว่างการทำงานปกติ (น้อยกว่า 10 ชม./ปี) จะต้องใช้อุปกรณ์แบบ Category 3,2, หรือ 1
ตรวจสอบ Solution ของ Getac Rugged Computer
หรือโทรปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โทร. 084-682-1041 (ฝ่ายขาย)
ขอใบเสนอราคา