3D Scaning Aplication

Calculation for Carbon Sequestration

การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ (Calculation For Carbon Sequestration)

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เนื่องจากการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมและการขนส่ง ทำให้องค์กรต่างๆทั่วโลก ได้หามาตรการเพื่อลดภาวะโลกร้อน จึงเป็นที่มาของการหาค่าคาร์บอนเครดิต ซึ่งสามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดกลางให้กับองค์กรที่มีภาระผูกพันทางกฎหมาย หรือองค์กรที่สมัครใจเข้าร่วม เพื่อสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจากกระบวนการสังเคราะห์แสงมากักเก็บไว้ในต้นไม้

สอบถามราคา ประเมินงานจ้างสแกน

คุณสามารถติดต่อโดยตรงกับทางทีมงาน เพื่อแจ้ง Scope งาน หรือ กรอกแบบฟอร์มขอใบเสนอราคาเพื่อประเมินงานจ้างของคุณก่อนการตัดสินใจ

คุยกับเรา   กรอกแบบฟอร์มขอประเมินงานจ้าง

Our Solution

การหาคาร์บอนเครดิตของพื้นที่สีเขียว โดยใช้เครื่องสแกน 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์สแกนเก็บข้อมูลพื้นที่ป่า แล้วนำข้อมูลสแกนทั้งหมดมาประมวลผลรวมกันเป็นข้อมูล 3 มิติเสมือนจริง พร้อมภาพ 360 องศาของพื้นที่ป่าทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องสูง ช่วยลดแรงงานและระยะเวลาในการสำรวจเก็บข้อมูลในสนาม ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมเฉพาะทางด้านป่าไม้ เพื่อวัดความโตของต้นไม้ ด้วยการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก (Diameter at Breast Height : DBH) และการวัดความสูงของต้นไม้ แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดิน (Above Ground Biomass: AGB) ด้วยสมการแอลโลเมตรี สำหรับนำไปคำนวณหาปริมาณกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ เพื่อจัดทำบัญชีคาร์บอนเครดิต

  • นอกจากนี้ข้อมูล 3 มิติที่ได้จากการสำรวจด้วยเครื่องสแกน 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์ ยังสามารถนำมาใช้ในการศึกษาเพื่อจำแนกขนิดของต้นไม้ ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ วัดขนาดทรงพุ่ม ศึกษาความหนาแน่นของต้นไม้ การนับจำนวนต้นไม้ และจัดทำแผนที่แสดงตำแหน่งต้นไม้ได้อีกด้วย
  • ขอบคุณข้อมูลจาก Youtube ข่าวสามมิติ : ดาวเทียมและเครื่องจำลองภาพ 3 มิติ วิเคราะห์คาร์บอนเครดิต I TNN Tech Reports Weekly

Sample Data

ตัวอย่างการทำงาน

ข้อมูล point cloud ซึ่งเป็นข้อมูลจากเครื่อง 3D Laser Scanner นำมาประยุกต์ใช้งาน พร้อมกับการคำนวณผลด้วยโปรแกรมอันชาญฉลาดสำหรับการหาปริมาตรจากข้อมูล point cloud

เก็บข้อมูลด้วย TLS

เพื่อนำข้อมูลมาคำนวณปริมาตรคาร์บอน

เก็บข้อมูลด้วย SLAM

สำหรับพื้นที่ที่มีเวลาจำกัดในการทำงาน

เก็บข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ

เพื่อข้อมูลด้านบนและให้พื้นที่กว้าง

ตัวอย่างข้อมูล

แสดงข้อมูล Poincloud ที่ได้มีการเก็บจาก sensor ต่าง ๆ